วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ภาษาอังกฤษ




part of speechfunction or “job”example wordsexample sentences
Verbคำกริยาaction or stateการกระทำ หรือคำที่แสดงอาการทางกาย ทางใจ หรือบ่งบอกถึงทางสถาวะ(to) be, have, do, like, work, sing, can, mustEnglish Club is a web site.I like English Club.
Nounคำนามthing or personคำที่ใช้เรียก ชื่อ คน สัตว์ วิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ รวมถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม (อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด สถาวะ)pen, dog, work, music, town, London, teacher, JohnThis is my dog. He lives in my house. We live in London.
Adjectiveคำคุณศัพท์describes a nounคำที่วางไว้หน้าคำนาม หรือสรรพนามเพื่อขยายความเหล่านั้นในเชิงลักษณะ คุณภาพ ปริมาณ เป็นต้นa/an, the, 2, some, good, big, red, well, interestingI have two dogs. My dogs are big. I like big dogs.
Adverbคำวิเศษณ์describes a verb, adjective or adverbคำที่ใช้ขยายคำกริยา คำคุณศัพท์ คำวิเศษณ์ เพื่ออธิบายข้อมูลเพิ่มเติม ในเชิงความถี่ เวลา สถานที่ หรือกริยาอาการต่างๆquickly, silently, well, badly, very, reallyMy dog eats quickly. When he is very hungry, he eats really quickly.
Pronounคำสรรพนามreplaces a nounคำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อที่จะได้ไม่ต้องใช้คำนามนั้นซ้ำเวลาพูดถึงอีกในประโยคอื่นๆ มีทั้งอยู่ในรูป Subject (ประธาน) และ Object (กรรม)I, you, he, she, someTara is Indian. She is beautiful.
Prepositionคำบุพบทlinks a noun to another wordคำที่ใช้เชื่อคำนาม สรรพนาม หรือวลีเข้าด้วยกันto, at, after, on, butWe went to school onMonday.
Conjunctionคำสันธานjoins clauses or sentences or wordsคำที่ใช้เชื่อมคำ (Words) กลุ่มคำ (Phases) หรือ ประโยค (Sentences) เข้าด้วยกันand, but, whenI like dogs and I like cats. I like cats and dogs. I like dogs but I don’t like cats.
Interjectionคำเชื่อมshort exclamation, sometimes inserted into a sentenceคำที่ใช้เพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูดออกมา โดยมักจะใช้เครื่องหมายตกใจ ! (Exclamation mark)oh!, ouch!, hi!, wellOuch! That hurts! Hi! How are you? Well, I don’t know.

สุขศึกษา




ความรู้ วิชาสุขศึกษาและพละศึกษา


Art#final
วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
สุขศึกษาเป็นวิชาที่สร้างเรียนรู้ด้านสุขภาพ พัฒนา ทักษะชีวิต ซึ่งส่งผลเกื้อหนุนสุขภาพของผู้เรียน ส่วนพลศึกษาเป็นการ ศึกษาเล่าเรียนในการบำรุงร่างกายด้วยการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีสุขภาพดี ซึ่งเด็กทุกคนควรจะได้เรียนรู้เรื่องสุขภาพ เพื่อจะได้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีเจตคติ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม รวมทั้งมีทักษะปฏิบัติด้านสุขภาพจนเป็นกิจนิสัย อันจะส่งผลให้สังคมโดยรวมมีคุณภาพ
สุขศึกษาและพลศึกษา-01

สุขศึกษาและพลศึกษาสำคัญอย่างไร?

สุขศึกษาและพลศึกษาเป็นการศึกษาด้านสุขภาพที่มีเป้าหมายเพื่อการดำรงสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการพัฒนาคุณ ภาพชีวิตของบุคคล ครอบครัว และชุมชนให้ยั่งยืน
  • สุขศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาพฤติกรรมด้านความรู้ เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่ไปด้วยกัน
  • พลศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกมและกีฬา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา รวมทั้งสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและกีฬา

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเนื้อหาสาระสุขศึกษาและพลศึกษาไว้อย่างไร?

เนื้อหาหรือขอบข่ายองค์ความรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ประกอบด้วย
  • การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เรื่องธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ความสัมพันธ์เชื่อมโยงในการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย รวมถึงวิธีปฏิบัติตนเพื่อให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย
  • ชีวิตและครอบครัว ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เรื่องคุณค่าของตนเองและครอบครัว การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่าง กาย จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกทางเพศ การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น สุขปฏิบัติทางเพศ และทักษะในการดำเนินชีวิต
  • การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ การเข้าร่วมกิจกรรมทางกายและกีฬา ทั้งประเภทบุคคลและประเภททีมอย่างหลากหลาย ทั้งไทยและสากล การปฏิบัติตามกฎ กติกา ระเบียบ และข้อตกลงในการเข้าร่วมกิจกรรมทางกายและกีฬา และความมีน้ำใจนักกีฬา
  • การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักและวิธีการเลือกบริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ การสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและการป้องกันโรคทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
  • ความปลอดภัยในชีวิต ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ทั้งความเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ ความรุนแรง อันตรายจากการใช้ยาและสารเสพติด รวมถึงแนวทางในการสร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิต

เด็กจะได้รับประโยชน์อะไรจากสุขศึกษาและพลศึกษา?

กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไว้ ดังนี้
  • มีความรู้และเข้าใจในเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ วิธีการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน
  • มีสุขนิสัยที่ดีในเรื่องการกิน การพักผ่อนนอนหลับ การรักษาความสะอาดอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย การเล่นและการออกกำลังกาย
  • ป้องกันตนเองจากพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การใช้สารเสพติด การล่วงละเมิดทางเพศ และรู้จักปฏิเสธในเรื่องที่ไม่เหมาะสม
  • ควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ตามพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุ มีทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางกาย กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและเกมได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัย
  • มีทักษะในการเลือกบริโภคอาหาร ของเล่น ของใช้ ที่มีผลดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุได้
  • ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เมื่อมีปัญหาทางอารมณ์และปัญหาสุขภาพ
  • ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบข้อตกลง คำแนะนำ และขั้นตอนต่างๆ และให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยความเต็มใจจนงานประสบความสำเร็จ
  • ปฏิบัติตามสิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่นในการเล่นเป็นกลุ่ม

ครูสอนสุขศึกษาและพลศึกษาให้ลูกอย่างไร?

สุขภาพมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากเด็กๆได้เรียนรู้หลักการต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ จะทำให้เด็กมีความรู้ เจตคติ มีการปฏิบัติที่ดีและถูกต้อง ทั้งยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขอีกด้วย การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เด็ก จึงเป็นการช่วยให้เด็กได้เรียนรู้หลักการเกี่ยวกับสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่ม และจะนำไปดัดแปลงใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเองและครอบครัวได้เร็วและมากยิ่งขึ้น เป้าหมายของการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา คือ การสอนให้เด็กเกิดความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติที่ดีต่อสุขภาพ เกิดสุขภาวะองค์รวม คือ ภาวะที่หมดทุกข์และมีสุข ตัวอย่างกิจกรรมที่ครูจัดให้เด็กที่โรงเรียนมีดังนี้
  • สอน ให้เข้าใจถึงทักษะในการเลือกบริโภคอาหาร การเลือกของเล่น ของใช้ ที่มีผลดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงและป้อง กันตนเองจากอุบัติเหตุได้
  • จัดกิจกรรม สร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ มีการทดสอบสมรรถภาพทางกาย จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กมีทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน การเคลื่อนไหวเฉพาะอย่าง การออกกำลังกาย เล่นเกม และเล่นกีฬา รวมถึงการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันในอิริยาบถต่างๆ ทั้งการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ แบบอยู่กับที่ และแบบประ กอบอุปกรณ์
  • ฝึก ให้เด็กรู้จักวิธีปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบ ข้อตกลง คำแนะนำ และขั้นตอนต่างๆ ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยความเต็มใจจนงานประสบความสำเร็จ ปฏิบัติตามสิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่นในการเล่นเป็นกลุ่ม สามารถจัดการกับอารมณ์และความเครียด รู้จักวิธีควบคุมอารมณ์และความคับข้องใจที่ไม่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เช่น ทำสมาธิ เล่นกีฬา การร่วมกิจกรรม นันทนาการ การคลายกล้ามเนื้อ
  • เตรียมพร้อมป้องกันตนเอง จากพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การเสี่ยงต่อสุขภาพ เกิดอันตรายต่อชีวิต เช่น การรับประ ทานอาหารสุกๆ ดิบๆ การมีน้ำหนักตัวเกิน การขาดการออกกำลังกาย การถูกล่อลวงต่างๆ การล่วงละเมิดทางเพศ การใช้สารเสพติด และรู้จักปฏิเสธในเรื่องที่ไม่เหมาะสม
  • girls-soccer-team

พ่อแม่จะช่วยส่งเสริมสุขศึกษาและพลศึกษาให้ลูกได้อย่างไร

คนเราจะมีความสุขอย่างแท้จริง ก็ต้องดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง คือ จะต้องปฏิบัติถูกต้องต่อชีวิตของตนเอง และต่อสภาพแวด ล้อม ทั้งทางสังคม ทางธรรมชาติ และทางวัตถุโดยทั่วไป รวมทั้งเทคโนโลยี คนที่รู้จักดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง ย่อมมีชีวิตที่ดีงามและมีความสุขที่แท้จริง ซึ่งหมายถึง การมีความสุขที่เอื้อต่อการเกิดมีความสุขของผู้อื่นด้วย ซึ่งมีตัวอย่าง ดังนี้
  • สร้างเสริมสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องการรับประทานอาหาร การพักผ่อนนอนหลับ การรักษาความสะอาดอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงการเล่นและการออกกำลังกาย ตามข้อกำหนดสุขบัญญัติแห่งชาติ (National Health Disciplines) 10 ประการ ที่เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป พึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ดังนี้
    • ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด
    • รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง
    • ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย
    • กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด
    • งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ
    • สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น
    • ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี
    • ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
    • มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม
  • พัฒนาทักษะชีวิต (Life Skills) ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกและทำซ้ำๆให้เกิดความคล่องแคล่ว เคยชิน จนเป็นลักษณะนิสัย เพื่อสร้างเสริมทักษะต่างๆ ได้แก่ การรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง และเห็นคุณค่าของตนเอง การรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ คิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา รู้จักแสวงหาและใช้ข้อมูลความรู้ การสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น การจัดการกับอารมณ์และความเครียด การปรับ ตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง การตั้งเป้าหมาย การวางแผนและดำเนินการตามแผน ความเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อสังคมและซาบซึ้งในสิ่งที่ดีงามรอบตัว
  • เสริมสร้างน้ำใจนักกีฬา (Spirit) ให้เกิดเป็นคุณธรรมประจำใจของการเล่นร่วมกัน อยู่ร่วมกัน และมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุขและมีประสิทธิภาพ พฤติกรรมที่แสดงถึงความมีน้ำใจนักกีฬา เช่น การมีวินัย เคารพกฎกติกา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

ศิลปะ


ความรู้พื้นฐานทางศิลปะ
1. ศิลปกรรม
เป็นวิชาที่ว่าด้วยความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ รวมทั้งหลักเกณฑ์การ
สร้างสรรค์ และคุณค่าของศิลปะ ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจ ประทับใจในศิลปะ แล้วนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของตนเองและสังคม

1.1 ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ (ART) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และมีค่านิยมที่ไม่แน่นอนตายตัว
ขึ้นอยู่กับผู้ให้คำนิยาม เช่น ศิลปิน นักการศึกษาทางศิลปะ และนักวิจารณ์ศิลปะ เป็นต้น จึงพอจะสรุปได้ว่า
“ศิลปะ คือ ผลงานของมนุษย์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามและความพึง
พอใจของมนุษย์”

1.2 ความงามของธรรมชาติและความงามของศิลปะ
ความงามของธรรมชาติ ธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามกฎเกณฑ์ของ
ความเป็นจริง โดยส่วนรวมเกิดขึ้นตาม วัฏจักรของตนเอง และมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพ มนุษย์เราอาศัยธรรมชาติเพื่อประโยชน์ทางร่างกายและทางจิตใจ เช่น ธรรมชาติทำให้เราเกิดความรู้สึกมีความสุขสดชื่น แจ่มใส และเบิกบาน เมื่อเราได้พบเห็น หรือไม่ได้รับอากาศอันบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ
ความงามของศิลปะ คือ ความงามที่เกิดจากการสร้างสรรค์จากความคิด สติปัญญา ของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งแบ่งออกได้ ดังนี้
1. โดยการพิจารณาตามรูปแบบของศิลปะ ประกอบด้วย
1.1 ความงามของจิตรกรรม คือ ความงามที่แสดงออกเกี่ยวกับ เส้น สี แสง – เงา รูปร่าง
1.2 ความงามของปติมากรรม คือ ความงามที่แสดงออกให้เห็นถึง ปริมาตร แสง – เงา สัดส่วน
1.3 ความงามของสถาปัตยกรรม คือ ความงามที่แสดงออกให้เห็นรูปร่าง รูปทรง ปริมาตร บริเวณว่าง ความสะดวกในการใช้สอย
2. โดยการพิจารณาตามลักษณะของความมุ่งหมายในการแสดงออกประกอบด้วย
2.1 สร้างขึ้นเพื่อบรรยายหรืออธิบายตามเรื่องราว
2.2 สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกเพื่ออารมณ์ตามความรู้สึก
2.3 สร้างขึ้นเพื่อประดับตกแต่งให้สวยงาม

1.3 คุณค่าของศิลปะ
1.3.1 คุณค่าของศิลปะทางความรู้สึกเช่น ความงาม ความเชื่อ เป็นต้น
1.3.2 คุณค่าของศิลปะทางการอำนวยประโยชน์ เช่น การอยู่อาศัย
1.3.3 คุณค่าของศิลปะในทางช่วยสร้างสรรค์ความเจริญเช่น ด้านมนุษยธรรม

2. ประเภทของศิลปะ (Classification of art)
แบ่งออกได้สองประเภท คือ
2.1 วิจิตรศิลป์ (Fine art) บางที่เราก็เรียกว่าประณีตศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่
ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ด้านจิตใจและอารมณ์แบ่งออกได้เป็น 5 แขนง คือ
2.1.1 จิตรกรรม หมายถึง การวาดภาพโดยใช้วัสดุการเขียนลงบนพื้นระนาบ
2.1.2 ประติมากรรม หมายถึง การปั้น การแกะสลัก และการหล่อ
2.1.3 สถาปัตยกรรม หมายถึง การออกแบบสิ่งก่อสร้างและที่อยู่อาศัย
2.1.4 วรรณกรรม หมายถึงการประพันธ์ต่างๆ
2.1.5 นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่แสดงออกทางท่าทางและทางเสียงที่มีจังหวะ

2.2 ประยุกต์ศิลป์ (Applied art) หมายถึง ศิลปะที่ตอบสนองความต้องการทางร่างกาย จิตใจ ได้แก่
2.2.1 พาณิชยศิลป์ หรือศิลป์เพื่อการค้า
2.2.2 อุตสาหกรรมศิลป์ หมายถึง ศิลป์ที่เป็นผลผลิตด้านอุตสาหกรรม
2.2.3 มัณฑนศิลป์ หมายถึง ศิลปะการออกแบบตกแต่ง ภายใน – ภายนอก
2.2.4 ศิลปหัตถกรรม หมาย ศิลปะที่ทำด้วยมือเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หัตถศิลป์”

ความเป็นมาของประยุกต์ศิลป์ มีบทบาทต่อสังคมมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์และ
ได้เจริญขึ้นตามกาลเวลา รูปแบบเปลี่ยนไปตามความนิยมของแต่ละยุคสมัย ซึ่งจำแนกได้ ดังนี้
1. ความต้องการทางประโยชน์ใช้สอย
2. สภาพทางสังคมตามสภาพความนิยม
3. สภาพทางเศรษฐกิจ

คุณค่า ของงานประยุกต์ศิลป์ มีดังนี้
1. คุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย เช่น ขนาดสัดส่วนที่สัมพันธ์กับมนุษย์ ความเหมาะสมกับหน้าที่ใช้สอย ความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
2. คุณค่าทางความงาม เช่น การออกแบบอย่างสมบูรณ์ลงตัว

3. ทัศนศิลป์ (VISUAL ART)
ทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มีตัวตน กินเนื้อที่ในอากาศ สามารถจับต้องได้และสนองประสาท สัมผัสทางตา สามารถแบ่งออกได้เป็นแขนงต่าง ๆ คือ
3.1 จิตรกรรม (PAINTING) คือการเขียนภาพโดยใช้สี ส่วนมากผู้เขียนใช้
พู่กัน ซึ่งเป็นการถ่ายทอดรูปแบบที่เห็นจากธรรมชาติ หรือ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นตามแนวความคิดสร้างสรรค์ ผู้ที่ทำงานจิตรกรรม เรียกว่า “จิตรกร(ARTIST)” ผลงานจิตรกรรมสามารถแยกตามลักษณะต่าง ๆ กัน คือ
3.1.1 เรียกชื่อตามวัสดุที่ใช้ เช่น จิตรกรรมสีน้ำ จิตรกรรมสีน้ำมัน จิตรกรรมสีอครีลิก ฯลฯ
3.1.2 เรียกชื่อตามเรื่องราว เช่น จิตรกรรมหุ่นนิ่ง จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ จิตรกรรมภาพคน ฯลฯ
3.1.3 เรียกชื่อตามตำแหน่งติดตั้ง เช่น จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมโฆษณากล้างแจ้ง จิตรกรรมประดับผนังอาคาร, โรงแรม ฯลฯ

3.2 ประติมากรรม (SCULPTURE) มีลักษณะเป็นสามมิติ คือ มีความกว้าง
ความยาว ความหนา หรือความสูง มีวิธีทำได้หลายวิธี เช่น
3.2.1 วิธีปั้น หมายถึง การเอาวัสดุส่วนย่อยเพิ่มเข้าเพื่อให้เป็นส่วนใหญ่ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึ้ง ฯลฯ
3.2.2 วิธีแกะสลัก หมายถึง การเอาส่วนย่อยออกจากส่วนรวม วัสดุที่ใช้ เช่น หินอ่อน ไม้ ศิลาแลง ฯลฯ
3.2.3 วิธีทุบ ตี วัสดุที่ใช้เป็นพวกโลหะ นำมาทำเพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ
3.2.4 วิธีหล่อ เป็นกระบวนการที่ต่อจากการทำประติมากรรมปั้นเพื่อให้ได้จำนวนมากตามความต้องการ

3.3 สถาปัตยกรรม (ARCHITECTURE) สถาปัตยกรรมเป็นงานที่รวม
จิตรกรรมและประติมากรรมมาประกอบด้วยมีขนาดใหญ่กว่าศิลปะแขนงอื่น ๆ เป็นทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบก่อสร้างเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการกำหนดขอบเขตบริเวณว่างเพื่อให้เกิดประโยชน์ ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรม เรียกว่า สถาปนิก (ARCHITECT)
ความเป็นมาของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมที่มี
ลักษณะเด่น ให้เห็นเด่นชัด สมัยแรกมนุษย์อยู่ตามถ้ำ ซึ่งมีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน ต่อมามนุษย์อพยพออกจากถ้ำแหล่งที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ก็คือ บริเวณใกล้แม่น้ำลำธาร เพื่อสะดวกในการไปมาหาสู่กัน เป็นที่สร้างที่อยู่อาศัยใช้ในการเพาะปลูก สถาปัตยกรรมจึงเป็นการก่อสร้างอันสำคัญของมนุษย์ ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคม
ประเภทของสถาปัตยกรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สถาปัตยกรรมที่เป็นปูชนียสถาน เป็นประเภทที่มนุษย์เข้าไปอยู่อาศัยไม่ได้
2. สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย เป็นประเภทที่มนุษย์เข้าไปอยู่ได้ เช่น อาคารบ้านเรือน
สถาปัตยกรรมแบ่งตามลักษณะวัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง มี 4 ประเภท คือ
1. สถาปัตยกรรมเครื่องไม้
2. สถาปัตยกรรมเครื่องหิน
3. สถาปัตยกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก
4. สถาปัตยกรรมโครงเหล็ก

ทัศนธาตุ (VISUAL ELEMENTS) เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานศิลป์ ได้แก่
1. เส้น (LINE) คือส่วนประกอบเบื้องต้นที่สำคัญ
2. รูปร่างและรูปทรง
3. แสงและเงา
4. บริเวณว่าง
5. สี
6. ลักษณะพื้นผิว

4. หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ หมายถึง หลักการจัดวางสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
และเกิดเป็นศิลปะจะเอาองค์ประกอบมาจัดทุกอย่างหรือบางอย่างก็ได้มาประกอบกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ซึ่งมนุษย์ได้แบบอย่างมาจากธรรมชาติ บางครั้งก็ดัดแปลงขึ้นมาใหม่ แต่บางอย่างก็นำธรรมชาติมาใช้เลย สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมา ได้แก่
1. จุด
2. เส้น
3. ทิศทาง
4. รูปร่างและรูปทรง
5. ขนาดและสัดส่วน
6. ลักษณะผิว
7. น้ำหนักสีอ่อนแก่
8. สี
องค์ประกอบที่ดีนั้น ควรจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนประธาน หมายถึง จุดสนใจของภาพเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
2. ส่วนรองประธาน หมายถึง ส่วนสำคัญรองลงไปเป็นส่วนที่จะมาช่วยให้งาน
มีเนื้อหา มีความเด่น มีคุณค่าและสมบูรณ์มากขึ้น

5. การวิเคราะห์และวิจารณ์ศิลปะ
มีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องแสวงหาความรู้ ตรวจสอบ แนวความคิด และ
วิธีการแสดงออกในผลงานศิลปะทั้งของตนเองและผู้อื่น การวิจารณ์ศิลปะเป็นเนื้อหา และกิจกรรมใหม่สำหรับสังคมไทย เริ่มมีขึ้นเมื่อตอนมีการจัดสัมนาศิลปะการวิจารณ์ขึ้นที่มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ. 2523 ปัจจุบันยังไม่ก้าวหน้าไปมากเท่าที่ควร ฉะนั้นการพัฒนาเกี่ยวกับการวิจารณ์ ศิลปะจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ในชั้นเรียน ฝึกหัดให้แสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ และตีความผลงานศิลปะอยู่เสมอ สร้างความเชื่อมั่นในวิจารณญาณของตน โดยตั้งอยู่บนเหตุผลที่ถูกต้อง
การวิเคราะห์ ตามพจนานุกรมนักเรียน ฉบับเฉลิมพระเกียรติ หมายถึง การ
ใคร่ครวญ แยกแยะออกเป็นส่วน ๆ
การวิจารณ์ศิลปะ ตามพจนานุกรมศัพท์ศิลปะฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง
การวิพากษ์วิจารณ์ ผลงานทางศิลปะซึ่งศิลปินได้สร้างสรรค์ไว้ โดยให้ความเห็นตามกฎเกณฑ์และหลักการของศิลปะแต่ละสาขา ทั้งในด้านสุนทรีย์ศาสตร์และปรัชญาสาขาอื่น ๆ
คุณสมบัติของนักวิจารณ์ สรุปได้ดังนี้
1. ควรมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะทั้งในส่วนที่เป็นประจำชาติ และสากล
2. ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ รูปแบบงานศิลปะ ทำให้มองงานที่จะวิจารณ์ได้หลายประเด็น
3. ควรมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ช่วยให้รู้แง่มุมของความงาม เปิดใจให้กว้างขึ้น จะได้ไม่เอากรอบใดกรอบหนึ่งมาวัดงานทุกชิ้น
4. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง และไม่คล้อยตามคนอื่น
5. กล้าที่จะแสดงออกทั้งที่เป็นไปตามหลักวิชาการและแสดงออกตามความรู้สึกและประสบการณ์

ทฤษฎีหรือเกณฑ์ในงานศิลปะ สิ่งสำคัญในการวิจารณ์ศิลปะ คือ “เกณฑ์” ที่
เป็นบรรทัดฐาน ของวิธีการศึกษาที่กำหนดขึ้นใช้ โดยก่อนจะทำการวิจารณ์งานศิลปะควรที่จะทราบลักษณะของงานเสียก่อน เพื่อจะได้ทำการวิจารณ์ได้อย่างถูกต้อง
ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ จัดเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
1. นิยมการเลียนแบบ เป็นการเห็นความงามในธรรมชาติแล้วเลียนแบบไว้ให้
เหมือนทั้งรูปร่าง รูปทรง สีสัน ฯลฯ
เกณฑ์ พิจารณาความเหมือนทั้งรูปร่างลักษณ์และความรู้สึก เช่น ภาพแตงโมผ่า
ซีก ต้องดูแล้วรู้สึกหวานฉ่ำ

2. นิยมสร้างรูปทรงที่สวยงาม เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ ให้สวยงามด้วย
ทัศนธาตุ (เส้น รูปร่าง รูปทรง สี น้ำหนัก ผิว บริเวณว่าง ) และเทคนิควิธีการต่าง ๆ
เกณฑ์ ความสวยงามรูปร่าง รูปทรง สัดส่วน การจัดภาพ เทคนิคการ
สร้างสรรค์ บางครั้งไม่แสดงเนื้อหาเรื่องราว

3. นิยมแสดงอารมณ์ เป็นการสร้างงานให้ดูมีความรู้สึกต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอารมณ์
อันที่เนื่องมาจากเนื้อหาเรื่องราว และอารมณ์ของศิลปินที่ถ่ายทอดลงไปในชิ้นงาน
เกณฑ์ ภาพกระตุ้นให้ผู้ดูผู้ชมเกิดความรู้สึกไปตามที่แสดงออก หรือกระตุ้น
ความรู้สึกที่เป็นประสบการณ์เดิมของผู้ดูแต่ละคน

4. นิยมแสดงจินตนาการ เป็นงานที่แสดงภาพจินตนาการ และแสดงความคิด
ฝันที่แตกต่างไปจากธรรมชาติ และสิ่งที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ
เกณฑ์ การแสดงออกอย่างอิสรเสรีทั้งเนื้อหา เรื่องราว และเทคนิควิธีการ
สร้างสรรค์


วงจรของศิลปะวิจารณ์ การทำความเข้าใจศิลปะวิจารณ์จะต้องรับรู้องค์ประกอบ หรือวงจรที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้เข้าใจความสัมพันธ์อันเป็นเหตุปัจจัยต่อกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1. ศิลปิน เป็นผู้มีหน้าที่สร้างสรรค์งานศิลปะซึ่งต้องมีความจริงใจที่จะสร้าง
ผลงานขึ้นมาอย่างบริสุทธิ์ใจไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลใดทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ และในด้านของผลประโยชน์ทาววัตถุ นอกจากนั้นศิลปินจะต้องมีความสามารถพิเศษหรือเรียกว่า “พรสวรรค์” ในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนเองด้วยภาษาของทัศนศิลป์ ประการสำคัญศิลปิน จะต้องเป็นผู้ที่มีโลกทัศน์กว้างขวาง มีความเข้าใจในชีวิตมนุษย์และปรัชญาการดำเนินชีวิต
2. ผลงานศิลปะ คือ รูปของผลงานศิลปะที่ศิลปินใช้เป็นภาษาหรือสื่อกลางที่
จะถ่ายทอดความนึกคิดและอารมณ์ความรู้สึกของตนออกมา ภาษาทางทัศนศิลป์เป็นการใช้ภาษาของการมองเห็นด้วยตา
3. คนดู คือ ส่วนของประชาชนที่เป็นผู้รับรู้ภาษาที่ศิลปินใช้สื่อความหมาย
คนดูเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ความหมายของการสร้างศิลปะสมบูรณ์ครบวงจร ผลงานศิลปะใดถ้าขาดคนดูย่อมจะสูญเสียความประสงค์สำคัญทั้งหมด คนดูจะรวมไปถึงนักวิจารณ์ศิลปะด้วย ปละคนดูโดยทั่วไปอาจกล่าวโดยอนุมานได้ว่า เขาทุกคนคือนักวิจารณ์ศิลปะเพราะจะต้องตัดสิน หรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงความชอบและไม่ชอบของตนเอง
การวิจารณ์ศิลปะ มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ
1. เพื่อให้ผู้รู้ ครู อาจารย์ และนักวิจารณ์ศิลปะ ได้ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ
และประสบการณ์ของตนเกี่ยวกับศิลปะให้กับผู้ที่สนใจรวมทั้งนักศึกษา อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ที่ผ่านมายังไม่มี
1. เพื่อให้ผู้รู้ ครู อาจารย์ และนักวิจารณ์ศิลปะ ได้ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ
และประสบการณ์ของตนเกี่ยวกับศิลปะให้กับผู้ที่สนใจรวมทั้งนักศึกษา อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ที่ผ่านมายังไม่มีการเรียนการสอนวิชาศิลปวิจารณ์อย่างเป็นระบบ
2. เพื่อให้ผู้ที่สนใจรวมทั้งนักเรียน นักศึกษาได้รับความรู้ หรือเพิ่มพูนความรู้
ความเข้าใจ และประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะให้กับตนเองอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จนสามารถเข้าใจและชื่นชมศิลปะได้
3. เพื่อให้นักวิจารณ์ศิลปะได้ช่วยเผยแพร่ หรือบอกเล่าความเคลื่อนไหวใน
วงการศิลปะนักวิจารณ์ศิลปะยังทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างศิลปินกับผู้ชม

ขั้นตอนการวิจารณ์
1. ข้อมูลภาพ เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับผลงานที่จะวิจารณ์ ได้แก่ เป็นงานทัศนศิลป์แขนงใด ชื่อภาพ ชื่อศิลปิน วัสดุ เทคนิค วิธีการ ขนาด เป็นต้น
2. ขั้นพรรณนา เป็นข้อมูลที่ได้จากการมองเห็น การสังเกต การตั้งคำถาม ว่าท่านเห็นอะไรบ้างในงานชิ้นนั้น
3. ขั้นแปลความ เป็นขั้นการค้นหาความหมายของภาพ โดยเริ่มจากความสัมพันธ์ระหว่างภาพที่เห็นกับชื่อภาพเป็นอย่างไร
4. ขั้นวิเคราะห์ภาพรวม โดยพิจารณาว่า เป็นงานศิลปะแบบใด จัดอยู่ในทฤษฎีอะไร
5. ขั้นตัดสินประเมินค่า พิจารณาจากข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้วตัดสินเลยว่า ผลงานเป็นอย่างไรงามหรือไม่งาม ดีหรือไม่ดี ถ้าดีก็ชม ถ้าไม่ดีอาจติหรือเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป

2. ความเข้าใจศิลปะ
1. ศิลปะและความเข้าใจ
ศิลปะตามความเข้าใจของคนทั่วไป พอสรุปได้คือ ศิลปะเป็นสิ่งทีมีความ
สวยงาม สามารถอำนวยความสุข และเกิดความบันเทิงใจเมื่อได้พบเห็น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิความเป็นอยู่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแต่งกาย การตกแต่งห้อง

ศิลปะตามความเข้าใจของศิลปิน สรุปคือ ศิลปะเป็นสื่อคามหมายร่วมกันของมนุษย์ที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานให้เป็นเครื่องเร้าให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจเมื่อได้พบเห็น สัมผัส ทำให้เกิดความคิดเช่นเดียวกับความหมายที่ต้องการ สามารรถยกระดับอารมณ์ และจิตใจด้วนคุณธรรม
จะเห็นว่าศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มีความผูกพันกับชีวิตประจำวัน การที่มนุษย์เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวแล้วมีปฏิกิริยาตอบสนองจากการรับรู้นั้น เช่น ตอบสนองต่อรูปร่าง รูปทรง ระนาบผิว ความหนักแน่น ทึบตัน บริเวณว่า การเคลื่อนไหวแสง สี เสียง หรือลักษณะที่ปรากฏให้เห็นของสิ่งต่าง ๆ เกิดความประทับใจ แล้วถ่ายทอดออกไป เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “การรับรู้นำไปสู่การถ่ายทอด ดังจะกล่าวได้ต่อไป”

1.1 การรับรู้นำไปสู่การถ่ายทอด มนุษย์รับรู้สิ่งต่างๆ จากโลกภายนอก จาก
สิ่งแวดล้อมผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เข้าสู่เส้นประสาทแล้วนำเข้าสู่ระบบสมอง เกิดเป็นการแปลความตัดสินประเมินค่า ถ้าสั่งนั้นดีเก็บไว้เป็นความทรงจำ ถ้าผู้นั้นเป็นศิลปินจะไม่เก็บความดีงาม ความประทับใจไว้แต่เพียงผู้เดียว แต่จะถ่ายทอดเป็นงานศิลปะตามที่ตนถนัดเพื่อเผื่อแผ่ความดีงาม
การรับรู้และการถ่ายทอดจากการมองเห็น ศิลปินรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากสังคม สิ่งแวดล้อม แล้วต้องการจะถ่ายทอดหรือแสดงออกเป็นงานศิลปะตามที่ตนถนัดหรือมีประสบการณ์ จึงทำให้เกิดรูปแบบการถ่ายทอดต่างกันมากมาย

1. ถ่ายทอดตรงตามที่เห็นจริง ศิลปินเห็นอย่างไรก็ถ่ายทอดออกมาอย่างนั้น
เป็นงานศิลปะที่เหมือนของจริง ผู้ดีเห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็นภาพอะไร เรื่องอะไร จัดเป็นศิลปินนิยม การเลียนแบบ
2. ถ่ายทอดโดยปรุงแต่งสิ่งที่เห็น ศิลปินบางคนต้องการแสดงเรื่องราวจาก
ความคิดฝัน จินตนาการจึงต้องมีการประดิษฐ์รูปทรงให้เหมาะสมกับเนื้อหาเรื่องราวที่ต้องการแสดงออกโดยนำสิ่งที่เห็นมาปรับแต่งเพิ่มเติม
3. ถ่ายทอดความรู้สึก ศิลปินกลุ่มนี้ไม่สนใจรูปทรงภายนอกของวัตถุแต่สนใจ
เกี่ยวกับความรู้สึก เช่น ความรัก ความงาม ความสดชื่น ความน่ากลัว ความรู้สึกเหล่านี้ยังไม่มีรูปร่างที่แน่นอนตายตัว จึงทำให้ศิลปินสร้างงานได้อย่างอิสระมากกว่าการถ่ายทอดตามแบบที่ 1 และ 2

ศิลปะแต่ละคนมีการถ่ายทอดแตกต่างกัน ตามความคิดสร้างสรรค์และความ
ถนัดเมื่อมีการจัดกลุ่มเพื่อการศึกษา จึงเรียกใหม่ว่ารูปแบบศิลปะ หรือสไตล์ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. แบบเหมือนของจริง
2. แบบดัดแปลงจากธรรมชาติ
3. รูปแบบอิสระ
1. แบบเหมือนของจริง เป็นผลมาจากการถ่ายทอดของศิลปินในลักษณะ
เลียนแบบธรรมชาติ พวกนิยมการเลียนแบบ ทั้งนี้เป็นเพราะเห็นว่ารูปลักษณ์ของธรรมชาติมีความงามความไพเราะอยู่แล้ว
2. แบบดัดแปลงจากธรรมชาติ เป็นผลมาจากการถ่ายทอดของศิลปินโดยการ
ปรับปรุงแต่งสิ่งที่เห็นให้เหมาะสม สวยงามขึ้น
นอกจากนี้รูปร่าง รูปทรงในธรรมชาติบางครั้งน่าเกลียด น่ากลัว ศิลปินนัก
ออกแบ ปรับแต่งให้ได้รูปร่างรูปทรงที่สวยงาม น่ารักขึ้น รูปแบบดัดแปลงนี้เป็นที่นิยมมากเพราะศิลปินได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับรูปร่างรูปทรงตามธรรมชาติ ปละผู้ดูให้ความคิดและการสังเกต ก็สามารถรับรู้เนื้อหาเรื่องราวหรือสิ่งที่ศิลปินต้องการแสดงออกได้ ศิลปินและนักออกแบบจะปรุงแต่งดัดแปลงรูปร่าง รูปทรง โดยวิธีการต่อไปนี้
1. การเพิ่มเข้า เช่น ภาพทศกัณฑ์
2. การบิดพลิ้วรูปทรง ในงานนาฏศิลป์ใช้มาก
3. การลดตัดทอน เป็นการจัดส่วนที่ไม่สำคัญออกให้เหลือรูปร่งรูปทรงที่สำคัญ

3. แบบอิสระ เป็นผลมาจากการถ่ายทอดความรู้สึกของศิลปิน ทั้งนี้เพราะ
ศิลปินเห็นว่าความงามเป็นเรื่องของมนุษย์ ที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก ไม่ติดอยู่กับความเหมือนหรือดัดแปลงรูปทรงธรรมชาติเท่านั้น ประกอบกับประชาชนมีความชื่นชอบ หรือรสนิยมทางความงามต่างกัน ศิลปินบางกลุ่มจึงควรที่จะสร้งสรรค์สิ่งแปลกใหม่ นำเสนอสู่สังคมให้ประชาชนมีโอกาสเลือกชมได้ ศิลปินจึงเลือกแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้สึก ซึ่งยังไม่มีรูปแบบแน่นอนตายตัว ศิลปินจึงใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่

1.2 ผลงานศิลปะกับการถ่ายทอดของศิลปิน ศิลปินถ่ายทอดคามเป็นตัวเองลง
ในผลงาน
ลักษณะเฉพาะตัวของศิลปินแต่ละคน ลักษณะเฉพาะหรือความเป็นตัวของ
ตัวเองของศิลปะแต่ละคนทำให้มีรูปแบบความงามในงานศิลปกรรมต่างกัน แม้ว่าจะได้รับการศึกษาพื้นฐานมาในระดับเดียวกันจากครูคนเดียวกัน แต่ความคิดและความรู้สึกทางความงามจะแตกต่างกัน
 การแสดงออกทางความงามเป็นงานหลักของศิลปิน ทั้งที่แสดงออกโดยเลียนแบบชาติ และประดิษฐ์ขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังต้องกล้าที่จะแสดงออกเพื่อความแปลกใหม่ และความก้าวหน้าทางวิชาการด้วย

1.3 วัสดุและเทคนิค ในการสร้างงานศิลปะ นอกจากสีฝุ่น สีน้ำ สีโปสเตอร์
แล้วยังมีสีอื่น ๆ ที่ใช้ในการเขียนรูปอีก เช่น สีอะครีลิค สีจากโมเสก ดินสอสีระบายน้ำ มีรายละเอียดดังนี้


1.3.1 สีอะครีลิค เป็นสีใหม่ล่าสุดที่ได้รับความนิยมในวงการจิตรกรรมมาก
เพราะสามารถเขียนแบบสีน้ำมัน และแบบสีน้ำได้ สีนี้เป็นเป็นผลพลอยได้มาจากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม จึงมีราคาแพงพอสมควร แต่มีคุณภาพดีมีสีสวยสดใส
1.3.2 สีจากโมเสก เป็นสีหินขนาดเล็กใช้เรียงติดกันเป็นภาพ เรียกว่า ภาพ
ประดับโมเสก
1.3.3 ดินสอสีระบายน้ำ เป็นวัสดุใหม่ระบายแบบดินสอสีและสามารถใช้น้ำ
ลูบตามลงไป ทำให้สีเรียบแบบสีน้ำ ช่วยให้นักเรียนระบายสีได้ง่ายขึ้นและได้ผลงานที่มีความงามแปลกออกไป

การระบายสีแสดงพื้นผิว
การแสดงพื้นผิวที่แตกต่างกันในงานจิตรกรรมเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้เกิดความงาม พื้นผิวที่แตกต่างกันในงานจิตรกรรมเป็นเทคนิคที่เกิดจากการระบายสีทำให้ดูแล้วรู้สึกสนุกสนานไปตามลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ระบายภาพที่สำเร็จจะดูไม่ราบเรียบเหมือนการระบายสีในข้อที่กล่าวมา แต่จะดูมีน้ำหนักอ่อนแก่มีชีวิตชีวา มีความสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง การระบายสีแสดงให้เกิดความงามของพื้นผิวในงานศิลปกรรมมากขึ้น

2. การสร้างงานศิลปะด้วยสื่อและเทคโนโลยี
2.1 การสร้างงานศิลปะด้วยสื่อและเทคโนโลยีการสร้างงานศิลปะ จัดเป็นการ
สร้างสรรค์งานศิลปกรรมด้วยวิธีการใหม่ วงการศิลปะในอดีตการกำหนดประเภทและแขนงต่าง ๆ ของศิลปะตามวัสดุและเทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์ ปัจจุบันวงการศิลปะก้าวหน้ามากขึ้นประกอบกับสังคมชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน และเห็นคุณค่าของเสรีภาพส่วนบุคคล ทำให้เกิดการแสวงหารูปแบบความงามใหม่ วิธีการสร้างสรรค์ใหม่ๆ
2.1.1 การสร้างงานศิลปะด้วยการปะติด
เป็นการนำวัสดุจริง เช่น กระดาษ ผ้า มาจัดวางร่วมกับภาพที่เขียน ทำให้เกิดการผสมผสานอย่างเหมาะสมระหว่างพื้นผิวจากการเขียนภาพกับพื้นผิวจากของจริง


2.1.2 การสร้างงานศิลปะแบบสื่อผสม
เป็นการนำเอาสื่อต่าง ๆ ทางทัศนศิลป์มาผสมผสานกันให้เหมาะสมสวยงามนับเป็นการสร้างรูปแบบความงามอยางอิสระ
2.1.3 การสร้างงานโดยการทดลอง
การทดลองเรื่องสี เป็นกิจกรรมทางศิลปะที่ช่วยพัฒนาความคิด การศึกษา
ค้นคว้า และการแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง โดยเฉพาะเรื่องของสีนับเป็นเรื่องของความรู้สึกทางความงามที่ไม่มีที่สิ้นสุด
2.1.4 การสร้างงานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์
การสร้างงานศิลปกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรียกโดยทั่วไปว่าคอมพิวเตอร์อาร์ต
หรือกราฟิกอาร์ต เป็นอีกวิธีหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ได้ทั้งสื่อภาพ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว เป็นลักษณะสื่อผสมในอีกรูปแบบหนึ่ง
2.2 ศิลปะกับการออกแบบ
ความหมายของการออกแบบ
การออกแบบเป็นการวางแผน เพื่อจะได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ
และการรู้จักเลือกใช้วัสดุเทคนิค วิธีการ โดยสร้างขึ้นให้สอดคล้องกับลักษณะ รูปแบบและคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์
สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ
1. จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก มีเนื้อหาเฉพาะกิจที่น่าสนใจใน
ขณะนั้น หรือที่มีผลต่อการประกอบอาชีพ ไม่มีวาระการออกที่แน่นอน เช่น จุลสารการเลี้ยงปลานิล การปลูกเห็ดนางฟ้า
2. วารสาร เป็นรูปเล่ม เป็นหนังสือ ออกเป็นวาระ เช่น วารสารราย
เดือน รายปักษ์
3. นิตยสาร เป็นสิ่งพิมพ์เย็บเล่ม จึงมีการออกแบบปกให้สะดุดตา
สวยงาม อ่านได้ทุกเพศ
4. หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ไม่เย็บเล่ม อายุการใช้งานสั้น มีเนื้อหา
สาระครบทุกด้าน เอาใจผู้อ่านในส่วนที่เป็นข่าวสารจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

5. แผ่นปลิว หรือใบปลิว เป็นสิ่งที่พิมพ์แผ่นเดียว อาจจะพิมพ์หน้า
เดียวหรือสองหน้าก็ได้ มีทั้งการนำเสนอข้อมูลสินค้า บริการ และการเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
6. แค็ตตาล็อก เป็นชื่อเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ สิ่งพิมพ์เย็บเล่ม หรือ
เป็นแฟ้ม บอกชนิดสินค้า รุ่น และราคา มีรายละเอียดสินค้าค่อนข้างครบถ้วนสมบูรณ์ พิมพ์ด้วยวัสดุอย่างดี
7. การโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการโฆษณาในวงกว้าง เผยแพร่ไป
ทั่วโลกทุกคนเปิดดูได้เลย นอกจากนี้ยังมี อี คอมเมิส ซึ่งมีทั้งภาพและเสียง สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา สามารถซื้อขายได้โดยตรงไม่ผ่านคนกลาง

งานออกแบบต่างกับงานวิจิตรศิลป์อย่างไร
การออกแบบ จัดเป็นงานประยุกต์ศิลป์ เพราะสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอย
และความงามไปในขณะเดียวกัน การออกแบบนิเทศศิลป์ พาณิชยศิลป์ เป็นการสร้างสรรค์งาน โดยเน้นทั้งความงาม ความน่าสนใจ และการสื่อความหมาย ตามที่ผู้ว่าจ้างหรือลูกค้าต้องการ

งานวิจิตรศิลป์ หรือศิลปะบริสุทธิ์ ศิลปินจะทำงานด้วยตนเอง ทำเพียงคนเดียว
ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ความประทับใจ ที่มีต่อธรรมชาติ สังคม สิ่งแวดล้อม ให้ปรากฏออกมาเป็นผลงานศิลปะตามความพึงพอใจของตนเอง

อาชีพด้านการออกแบบ
งานออกแบบประยุกต์ศิลป์หรือออกแบบโฆษณา กำลังเป็นอาชีพที่ตลาดต้องการมาก ได้รับเงินเดือน หรือค่าตอบแทนสูง ปัจจุบันสามารถทำหน้าที่ได้มากขึ้น ทำได้หลายตำแหน่ง เช่น ผู้วาดภาพ ผู้คิดคำโฆษณา ผู้จัดทำต้นฉบับฯลฯ


หน้าที่ของนักออกแบบ
นักออกแบบมีหน้าที่สร้างงานสนองความต้องการของลูกค้า และชี้นำสังคมไปในทางที่ดี การออกแบบรูปลักษณ์หน้าตาของสินค้าต้องให้สะดุดตา น่าสนใจ น่าซื้อ จึงต้องการผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบต่าง ๆ อย่างมีคุณภาพ

งานออกแบบสิ่งพิมพ์
 งานออกแบบสิ่งพิมพ์ เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ สื่อสาร นักออกแบบ สิ่งพิมพ์เป็นผู้สร้างสรรค์ ซึ่งจะต้องรู้จักการเตรียมการ การวางแผนเพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อผู้ดู ผู้อ่านให้ง่ายแก่การรับรู้ด้วยประสาทตา ส่วนประกอบที่ใช้ในการสร้งสรรค์สิ่งพิมพ์คือ ตัวอักษร ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ รูปภาพ ฯลฯ

การจัดหน้า
การจัดหน้า หมายถึง การจัดตัวอักษร เนื้อหา และภาพประกอบทั้งหมดให้มีระเบียบ ได้สัดส่วน สวยงาม เปรียบเสมือนการจัดตกแต่งหน้าร้านให้ดูสวยงาม เพื่อดึงดูดผู้ผ่านไปมา
วัตถุประสงค์ของการจัดหน้า สรุปได้ ดังนี้
1. เพื่อจัดวางหรือกำหนดเนื้อหาสาระ และภาพประกอบให้มีระเบียบ สวยงาม สบายตา สะดวกแก่การอ่าน และผู้ดีสามารถรับรู้ได้ง่าย
2. จัดลำดับเนื้อหา ความสำคัญ ความยากง่ายตามธรรมชาติการรับรู้ของผู้อ่าน
3. การจัดหน้าเป็นการสร้างเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งพิมพ์แต่ละฉบับ

การออกแบบภาพประกอบสิ่งพิมพ์
ภาพประกอบสิ่งพิมพ์มี 3 ลักษณะ ได้แก่ ภาพประกอบที่มาจากภาพเขียน
ภาพถ่าย และภาพสำเร็จที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพประกอบจากภาพถ่ายและจากภาพเขียนแตกต่างกันตรงที่ภาพประกอบจากภาพเขียนสามารถสนองตอบความคิด จินตนาการ ได้มากกว่าภาพถ่าย

ความสำคัญของภาพประกอบ
1. สร้างความเข้าใจในเรื่องราว ในถ้อยคำ บรรยายได้รวดเร็วขึ้น
2. กระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจอยากอ่าน
3. เร้าความสนใจมากกว่าตัวอักษร

การออกแบบตัวอักษรด้วยคอมพิวเตอร์
ตัวอักษรหรือเครื่องหมายใช้แสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกแพร่ขยายไปยัง
ผู้อื่นให้เข้าใจตรงกัน และยังช่วยรักษาความรู้ ความคิดให้อยู่ได้นานตกทอดถึงคนรุ่นหลังได้ ปัจจุบันมีแบบของตัวอักษร และขนาดให้เลือกใช้มากมาย ทั้งในเครื่องคอมฯ พีซี และเครื่องแมคอินทอช ซึ่งสามารถช่วยในการออกแบบตัวอักษรได้

การออกแบบตัวอักษรเพื่อใช้ในงานพิมพ์
1. ใช้ตัวอักษรเพื่อบรรยายหรืออธิบายเนื้อหา จะมีขนาดแตกต่างกันตามกลุ่ม
ผู้อ่าน เช่น ระดับอนุบาลศึกษา ควรใช้พื้นขนาด 24 พ้อยท์ เป็นต้น
2. ใช้ตัวอักษรเพื่อดึงดูดสายตา มีการออกแบบตกแต่ง หรือเน้นข้อความ
ข่าวสารให้เด่นชัดขึ้น สามารถดึงดูดความในใจของผู้ดู ผู้อ่าน โดยการใช้ขนาดและรูปแบบให้มีความโดเด่นเป็นพิเศษ

3. ยุคสมัยและรูปแบบของงานทัศนศิลป์
1. ยุคสมัยต่าง ๆ ของงานทัศนศิลป์
1.1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์
มนุษย์ผู้เริ่มสร้างศิลปะในยุโรปได้แก่ มนุษย์โคร-มันยอง ซึ่งมีอายุระหว่าง
50,000 – 5,000 ปีมาแล้ว งานทัศนศิลป์ที่มีชื่อเสียงอยู่ในยุโรปและในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้
งานจิตรกรรม ที่มีชื่อเสียงมากคือ จิตรกรรมบนฝาผนังที่ค้นพบตามผนังถ้ำและ
หน้าผา เช่น ที่ผนังถ้ำ อัลตามิรา ในประเทศสเปน ส่วนในประเทศไทยก็มีหลายแห่ง เช่น ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี

วิทยาศาสตร์


เนื้อหาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ม.1
เทอม 1
เทอม 2
บทที่ 1 หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช
1. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
2. ลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
3. การลำเลียงในพืช การแพร่และการออสโมซิส
4. การสืบพันธุ์ และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
5. การสังเคราะห์ด้วยแสง
6. เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชในท้องถิ่น

บทที่ 2 สารในชีวิตประจำวัน
1. ความหมายและสมบัติของสาร
2. ประเภทของสารและการจำแนกประเภท
3. การแยกสารเนื้อผสม และสารเนื้อเดียว
4. การแยกสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

บทที่ 3 สารละลาย
1. ความหมายและองค์ประกอบของสารละลาย
2. ความเข้มข้นของสารละลาย
3. สมบัติการเป็นกรด-เบสของสารละลาย
4. สารที่ใช้ในการทำความสะอาด
5. ความปลอดภัยในการใช้สารในชีวิตประจำวัน

บทที่ 1 แรงและการเคลื่อนที่
1. แรง ปริมาณสเกลาร์ และปริมาณเวกเตอร์
2. ชนิดของแรง
3. โมเมนตัมของแรง
4. ความหมายของการเคลื่อนที่ และแบบของการเคลื่อนที่

บทที่ 2 งานและพลังงาน
1. งานกับการคำนวณเกี่ยวกับงาน
2. พลังงานและการเปลี่ยนรูปของพลังงาน
3. พลังงานความร้อน
4. การใช้และการอนุรักษ์พลังงาน

บทที่ 3 บรรยากาศ
1. ส่วนประกอบของอากาศ
2. อุณหภูมิของอากาศและชั้นบรรยกาศ
3. ความดันของอากาศและความชื้นของอากาศ
4. ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ
5. อุตุนิยมวิทยาและมลภาวะในชีวิตประจำวัน

ลูกเสือ-เนตรนารี


กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี

table5

       กระบวนการลูกเสือ คือ กระบวนการพัฒนาเยาวชน มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรม ให้การศึกษา
และพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ทั้งนี้เป็นไปตามความมุ่งประสงค์
หลักการ และวิธีการ ซึ่งลูกเสือโลกได้กำหนดไว้
ปัจจุบันกระบวนการลูกเสือถือเป็นกระบวนการทางการศึกษาส่วนหนึ่ง ซี่งมุ่งพัฒนา
สมรรถภาพของบุคคลทั้งทางสมอง ร่างกาย จิตใจ และศีลธรรม เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีความประพฤติ
ดีงาม ไม่กระทำตนให้เป็นปัญหาต่อสังคม และดำรงชีวิตอย่างมีความหมายและสุขสบาย
หลักการ
กระบวนการลูกเสือมีหลักการสำคัญ ดังนี้
๑. มีศาสนาเป็นหลักยึดทางจิตใจ จงรักภักดีต่อศาสนาที่ตนเคารพนับถือ และ
พึงปฏิบัติศาสนกิจด้วยความจริงใจ
๒. จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และประเทศชาติของตน พร้อมด้วยการส่งเสริมและ
สนับสนุนสันติสุขและสันติภาพ ความเข้าใจที่ดีซึ่งกันและกัน และความร่วมมือซึ่งกันและกัน
ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
๓. เข้าร่วมพัฒนาสังคม ยอมรับและให้ความเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่นและ
เพื่อนมนุษย์ทุกคน รวมทั้งธรรมชาติและสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก
๔. มีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๕. ลูกเสือทุกคนต้องยึดมั่นในคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
วัตถุประสงค์
พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๘ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
ลูกเสือเพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี
มีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้
เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทางดังต่อไปนี้
๑. ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
๒. ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
๓. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
๔. ให้รู้จักทำการฝีมือและฝึกฝนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
๕. ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศชาติ
ขอบข่าย
กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี เป็นกิจกรรมที่มุ่งปลูกฝังระเบียบวินัยและกฎเกณฑ์ เพื่อการอยู่
ร่วมกัน ให้รู้จักการเสียสละและบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมและวิถีชีวิตในระบอบประชาธิปไตย
ซึ่งการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ รวมทั้ง
ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยกำหนดหลักสูตร
เป็น ๔ ประเภท ดังนี้
๑. ลูกเสือสำรอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓
๒. ลูกเสือสามัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖
๓. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓
๔. ลูกเสือวิสามัญ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖
แนวการจัดกิจกรรม
การจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี มีแนวทางการจัดกิจกรรมตามวิธีการลูกเสือ (Scout
Method) ซึ่งมีองค์ประกอบ ๗ ประการ คือ
๑. คำปฏิญาณและกฎ ถือเป็นหลักเกณฑ์ที่ลูกเสือทุกคนให้คำมั่นสัญญา ว่าจะปฏิบัติ
ตามกฎของลูกเสือ กฎของลูกเสือมีไว้ให้ลูกเสือเป็นหลักในการปฏิบัติ ไม่ได้ “ห้าม” ทำ หรือ
“บังคับ” ให้ทำ แต่ถ้า “ทำ” ก็จะทำให้เกิดผลดีแก่ตัวเอง เป็นคนดี ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติ
เชื่อถือได้ ฯลฯ
๒. เรียนรู้จากการกระทำ เป็นการพัฒนาส่วนบุคคล ความสำเร็จหรือไม่สำเร็จ
ของผลงานอยู่ที่การกระทำของตนเอง ทำให้มีความรู้ที่ชัดเจน และสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ
ด้วยตัวเองได้ และท้าทายความสามารถของตนเอง
๓. ระบบหมู่ เป็นรากฐานอันแท้จริงของการลูกเสือ เป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกัน
การยอมรับซึ่งกันและกัน การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็น
การเรียนรู้ การใช้ประชาธิปไตยเบื้องต้น
๔. การใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน ฝึกให้มีความเป็นหนึ่งเดียวในการเป็นสมาชิกลูกเสือเนตร
นารี ด้วยการใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน ได้แก่ เครื่องแบบ เครื่องหมาย การทำความเคารพ รหัส
คำปฏิญาณ กฎ คติพจน์ คำขวัญ ธง เป็นต้น วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักและภาคภูมิใจ
ในการเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั่วโลกและเป็นองค์กรที่มีจำนวนสมาชิก
มากที่สุดในโลก
๕. การศึกษาธรรมชาติ คือ สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งในกิจกรรมลูกเสือ ธรรมชาติ
อันโปร่งใสตามชนบท ป่าเขา ป่าละเมาะ และพุ่มไม้ เป็นที่ปรารถนาอย่างยิ่งในการไปทำกิจกรรม
กับธรรมชาติ การปีนเขา ตั้งค่ายพักแรมในสุดสัปดาห์หรือตามวาระของการอยู่ค่ายพักแรม
ตามกฎระเบียบ เป็นที่เสน่หาแก่เด็กทุกคน ถ้าขาดสิ่งนี้แล้ว ก็ไม่เรียกว่าใช้ชีวิตแบบลูกเสือ
๖. ความก้าวหน้าในการเข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดให้เด็กทำต้อง
ให้มีความก้าวหน้าและดึงดูดใจ สร้างให้เกิดความกระตือรือร้นอยากที่จะทำ และวัตถุประสงค์
ในการจัดแต่ละอย่างให้สัมพันธ์กับความหลากหลายในการพัฒนาตนเอง เกมการเล่นที่สนุกสนาน
การแข่งขันกันก็เป็นสิ่งดึงดูดใจและเป็นการจูงใจที่ดี
๗. การสนับสนุนโดยผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เป็นผู้ที่ชี้แนะหนทางที่ถูกต้องให้แก่เด็ก เพื่อให้
เขาเกิดความมั่นใจในการที่จะตัดสินใจกระทำสิ่งใดลงไป ทั้งคู่มีความต้องการซึ่งกันและกัน
เด็กก็ต้องการให้ผู้ใหญ่ช่วยชี้นำ ผู้ใหญ่เองก็ต้องการนำพาให้ไปสู่หนทางที่ดี ให้ได้รับการพัฒนา
อย่างถูกต้องและดีที่สุด จึงเป็นการร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย
table6
เงื่อนไข
๑. เวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม
การจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีตามหลักสูตรในแต่ละระดับชั้น สถานศึกษา
อาจจัดเวลาได้ตามความเหมาะสม
ส่วนการจัดกิจกรรมเพื่อรับเครื่องหมายวิชาพิเศษของลูกเสือ เนตรนารี แต่ละประเภท
อาจใช้ในเวลาเรียนปกติหรือนอกเวลาเรียนก็ได้
๒. การจัดกิจกรรม
๒.๑ การจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีตามหลักสูตร ควรจัดให้มีการเปิดประชุมกอง
ทุกครั้ง เพื่อเป็นการฝึกความมีระเบียบวินัยในตนเอง โดยปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
๒.๑.๑ พิธีเปิด (ชักธงขึ้น สวดมนต์ สงบนิ่ง ตรวจ แยก)
๒.๑.๒ เกมหรือเพลง
๒.๑.๓ เรียนตามหลักสูตร
๒.๑.๔ การเล่าเรื่องสั้นที่เป็นประโยชน์
๒.๑.๕ พิธีปิด (นัดหมาย ตรวจ ชักธงลง เลิก)
๒.๒ กิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรม
การเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้ลูกเสือมีความ
อดทน อยู่ในระเบียบวินัย รู้จักช่วยตัวเอง รู้จักอยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนวิชาลูกเสือ
เพิ่มเติม ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจำเป็นต้องวางแผนนำลูกเสือไปเดินทางไกล และอยู่ค่ายพักแรม
ไว้ให้พร้อมก่อนและเนิ่น ๆ ดังนั้นบทบาทผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อลูกเสือ
ต่องานการอยู่ค่ายพักแรม และตามหน้าที่ของตนเองจึงจำเป็นต้องหาโอกาสให้ลูกเสือของตนได้มี
โอกาสในการอยู่ค่ายพักแรมเสมอ
ให้ผู้กำกับลูกเสือนำลูกเสือไปฝึกเดินทางไกล และอยู่ค่ายพักแรมปีหนึ่ง
ไม่น้อยกว่า ๑ ครั้ง ครั้งหนึ่งให้อยู่ค่ายพักแรมอย่างน้อย ๑ คืน
๒.๓ กิจกรรมพิธีการ สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมพิธีการลูกเสือ เช่น พิธีเข้าประจำกอง
พิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนาม พิธีถวายราชสดุดี พิธีประดับเครื่องหมายต่าง ๆ เป็นต้น
เพื่อให้ลูกเสือมีความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในการเป็นลูกเสือ
๒.๔ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ สถานศึกษาควรส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้ลูกเสือ
ได้บำเพ็ญประโยชน์ตามอุดมการณ์ของลูกเสือ
๓. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้น
ในแต่ละประเภท
๔. สถานศึกษาควรให้มีการจัดตั้งกลุ่มหรือกองลูกเสือตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ
การประเมินกิจกรรม
การประเมินกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี เป็นกระบวนการทดสอบความสามารถและ
พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนลูกเสือ เนตรนารี ซึ่งนอกจากพิจารณาความรู้ตามทฤษฎีแล้ว
ต้องพิจารณาด้านความประพฤติ พฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมที่เน้นทักษะและการปฏิบัติต่าง ๆ
ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายและการประเมินตามสภาพจริง ซึ่งแบ่งการประเมินผลออกเป็น
๒ ส่วน คือ
๑. กิจกรรมบังคับ เป็นการประเมินผลกิจกรรมตามหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนผ่านเกณฑ์
การตัดสิน เลื่อนชั้นหรือจบหลักสูตร โดยการเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านการประเมินตามเกณฑ์
ที่สถานศึกษากำหนด มีการประเมินผลตลอดภาคเรียน/ปี โดยวิธีการสังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
การซักถาม การทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยกำหนดผลการประเมินเป็น “ผ่าน” และ
“ไม่ผ่าน”
ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมครบตามเกณฑ์ ปฏิบัติกิจกรรม
และมีผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา
กำหนด
ไม่ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ครบตามเกณฑ์ ไม่ผ่าน
การปฏิบัติกิจกรรม หรือมีผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะ
ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
๒. วิชาพิเศษ การประเมินผลวิชาพิเศษในแต่ละวิชา ใช้วิธีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎี
และภาคปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ในข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ

แนะแนว


ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้
ความสำคัญของการแนะแนว
จุดหมายของการแนะแนว คือการป้องกันปัญหา แก้ไขพฤติกรรมทุกอย่างที่ผิดปกติและการพัฒนาให้ทุกคนไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ต้องการ
ความสำคัญของการแนะแนว
กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ซึ่งครูแนะแนวทุกคนต้องทำหน้าที่แนะแนว ให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษาต่อ และการพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ
กิจกรรมแนะแนว ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข
หน้าที่และหลักการแนะแนว
ปรัชญาของการแนะแนว
1. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่าง
2. มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงยิ่ง
3. บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีและศักยภาพประจำตัว
4. บุคคลแต่ละคนย่อมต้องการความช่วยเหลือ
5. บุคคลจะมีความสุขเมื่อได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในด้านต่าง ๆ
6. พฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุ
หลักการสำคัญของการแนะแนว
การจัดกิจกรรมแนะแนวจะต้องจัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การที่จะให้งานบริการแนะแนวบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้น จำเป็นจะต้องคำนึงถึงหลักการแนะแนวที่มีการวางแผนการดำเนินงานให้เหมาะสม ดังนั้นอาจารย์แนะแนวจึงควรยึดถือหลักการสำคัญของการจัดกิจกรรมแนะแนว เพื่อเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. การแนะแนวเป็นบริการที่ต้องจัดให้กับบุคคลทุกคนไม่ใช่เฉพาะนักศึกษาที่มีปัญหาเท่านั้น
2.การแนะแนวตั้งอยู่บนรากฐานของการยอมรับในศักดิ์ศรีและคุณค่าของแต่ละคนและยอมรับในสิทธิส่วนตัวในการตัดสินใจที่จะเลือกทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. การแนะแนวเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการศึกษาที่ต้องปฏิบัติต่อเนื่องกันและเป็นไปตามลำดับขั้น
4. การแนะแนวจะต้องเกิดจากความร่วมมือไม่ใช่การบังคับ
5. การแนะแนวเน้นในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
6. การแนะแนวเน้นในเรื่องของการเข้าใจตนเอง การตัดสินใจด้วยตนเอง และการปรับตัว ด้วยตนเอง
7. การแนะแนวเน้นในเรื่องการป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ไขปัญหา
8. การแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการศึกษา
9. การแนะแนวที่มีประสิทธิภาพจะต้องเกิดจากความร่วมมือ และความเต็มใจของบุคลากร ทุกฝ่ายในมหาวิทยาลัย และนักศึกษาผู้มารับบริการ
10.การแนะแนวจะต้องจัดบริการให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ (1) การแนะแนวการศึกษา (2) การแนะแนวอาชีพ (3) การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
ประโยชน์ของการแนะแนว
1. ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา
1.1 ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว
1.2 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ
1.3 รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป
2. ประโยชน์ต่อนักเรียน
2.1 ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา
2.2 ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล
2.3 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3. ประโยชน์แก่ครู
3.1 ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น
3.2 ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
3.3 ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น
4. ประโยชน์แก่โรงเรียน
4.1 ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
4.2 ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น